วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วาฬสีน้ำเงิน

วาฬสีน้ำเงิน


วาฬสีน้ำเงิน (อังกฤษ: Blue whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera musculus) เป็นวาฬบาลีน (Balaenopteridae) และถือเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยทั่วไปจะยาวประมาณ 27-29 เมตร แต่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบคือ 33 เมตร (เท่ากับอาคาร 8 ชั้น) น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ ประมาณ 100-200 ตัน เฉพาะลิ้นก็มีน้ำหนักเทียบเท่ากับช้างหนึ่งตัว และหัวใจก็มีขนาดเท่ารถยนต์คันหนึ่ง อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, แอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงในมหาสมุทรแอนตาร์กติกาด้วยลูกวาฬจะกินเฉพาะนมแม่ที่มีไขมันสูงถึงร้อยละ 40 มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 4 กิโลกรัมกินเคยและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่ก็อาจจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่น ปลาขนาดเล็กเข้าไปด้วย สามารถดำน้ำลงไปหาอาหารได้ลึกถึง 100 เมตร และปกติจะดำน้ำนาน 20 นาที แต่มีบันทึกสูงสุดว่าดำได้นานถึง 36 นาที และพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร ทั้งนี้ วาฬสีน้ำเงินที่โตเต็มวัยกินเคยวันหนึ่งได้มากถึง 4 ตันวาฬสีน้ำเงินถูกล่าอย่างหนักเพื่อต้องการไขมันและน้ำมัน โดยเฉพาะในช่วง 60 ปีแรกของศตวรรษที่ 20 คาดว่ามีวาฬสีน้ำเงินราว 360,000 ตัวถูกฆ่าตาย ประชากรวาฬรอบเกาะเซาท์จอร์เจียในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ถูกฆ่าแบบล้างบาง รวมทั้งพวกที่เคยหากินอยู่นอกชายฝั่งญี่ปุ่นด้วย ประชากรวาฬสีน้ำเงินบางกลุ่มลดจำนวนลงถึงร้อยละ 99 จนเข้าสู่สภาพของการเป็นสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ กระทั่งถึงช่วงกลางทศวรรษ 1960 จึงได้มีการอนุรักษ์ขึ้นมาอย่างจริงจัง นอกจากนี้แล้ว วาฬสีน้ำเงินยังเป็นสัตว์ที่ส่งเสียงร้องได้กว้างไกลที่สุดในโลกอีกด้วย โดยสามารถส่งได้ได้ดังถึง 1,600 กิโลเมตร ในลักษณะของคลื่นเสียงที่มีความหลากหลาย ซึ่งเชื่อกันว่าไม่ได้เป็นไปในการสื่อสารเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังใช้การนำทางอีกด้วย

ปลาหมอทะเล

ปลาหมอทะเล


                  ปลาหมอทะเล (อังกฤษ: Giant grouper, Queensland grouper) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelus lanceolatus ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังเล็กอยู่ ตามลำตัวมีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่าง ๆปลาหมอทะเลเป็นปลาในวงศ์ปลากะรังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร น้ำหนักหนักถึง 400 กิโลกรัม ถือเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมกินอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว อาจจะกินปลาฉลามขนาดเล็กหรือเต่าทะเลวัยอ่อนได้ ฟันในปากมีขนาดเล็ก เป็นปลาที่สายตาไม่ดี ออกหากินในเวลากลางคืน แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย เวลาขู่จะแสดงออกด้วยการพองครีบพองเหงือกคล้ายปลากัด ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ หรือกองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ พบในระดับความลึกตั้งแต่ 4-100 เมตร

แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส

แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส


               แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส หรือ แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส (อังกฤษ: Portuguese man-of-war, Portuguese Man o' War, Bluebottle) เป็นแมงกะพรุนชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Physalia physalisที่ได้ชื่อเช่นนี้ เนื่องจากรูปร่างคล้ายหมวกของทหารเรือชาวโปรตุเกสในยุคกลาง[1] หรือเรือรบของโปรตุเกสในยุคล่าอาณานิคมที่เรียกว่า "Man-of-war"มีรูปร่างสีฟ้าหรือสีม่วง มีหนวดยาว จัดอยู่ในวงศ์ Physaliidae และสกุล Physalia ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดเท่านั้น โดยปกติจะไม่พบในน่านน้ำไทย โดยจะพบในทะเลเปิดของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ, ทะเลเมดิเตอเรเนียน, มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย แต่จะอาจจะถูกกระแสน้ำพัดมาเกยตื้นหรือเข้าสู่น่านน้ำไทยได้ในบางฤดูกาลจัดเป็นแมงกะพรุนชนิดที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก เทียบเท่าแมงกะพรุนกล่องหรือแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) และเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลกด้วย ซึ่งพิษนั้นจะทำลายระบบประสาท ผิวหนัง หัวใจ เมื่อถูกต่อยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างมาก ส่วนใหญ่ผู้ที่โดนพิษจะช็อค และหัวใจล้มเหลวก่อนที่จะกลับเข้าถึงฝั่ง วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือ การใช้น้ำอุ่นมาล้างบริเวณที่ถูกพิษอย่างน้อย 30 วินาที ก่อนที่พิษจะเข้าสู่กระแสเลือด

ปลาดุกทะเลลาย

ปลาดุกทะเลลาย



                    ปลาดุกทะเลลาย หรือ ปลาดุกทะเลแถบ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาดุกทะเล (อังกฤษ: Striped eel catfish) เป็นปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plotosus lineatus (มาจากภาษากรีก Plotos หมายถึง "ว่ายน้ำ" และ lineatus หมายถึง "ลายแถบ") อยู่ในวงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae)มีรูปร่างเรียวยาวด้านข้างแบน ส่วนหัวแบนลงมีหนวด คู่ครีบหลังและครีบหูมีก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง มีลักษณะเป็นฟันเลื่อย ไม่มีครีบไขมัน ส่วนหัวแบนยาวเรียวแหลมครีบหลังอันที่สอง ครีบก้นและครีบหางติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจอยู่ที่รูก้น ด้านหลังลำตัวมีสำดำปนน้ำตาล ด้านท้องมีสีขาว ปลาขนาดเล็กจะมีลายแถบสีขาวปนเหลือง 3 แถบพาดไปตามยาวลำตัว เมื่อโตขึ้นแถบเหล่านี้จะเลือนหายไปกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนแทนโดยที่ปลาดุกทะเลชนิดนี้ ตามเงี่ยงแข็งในแต่ละครีบนั้นมีพิษร้ายแรงมาก ถึงขนาดมีรายงานแทงมนุษย์จนถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้วมีความยาวเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบทั่วไปคือ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่ทะเลแดง, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และพบในทะเลสาบน้ำจืดของทวีปแอฟริกา เช่น ทะเลสาบมาลาวี และมาดากัสการ์ด้วย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงในปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปลาวัยอ่อนจะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในทะเลใกล้ชายฝั่ง ในแนวปะการังหรือตามกอสาหร่าย เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน
โดยมักจะขุดรูอยู่ในดินหรือเลนใกล้ชายฝั่ง

ปลาช่อนทะเล

ปลาช่อนทะเล

            ปลาช่อนทะเล (อังกฤษ: Cobia, Black kingfish, Black salmon, Ling, Lemon fish, Crabeater, Aruan tasek) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rachycentron canadum อยู่ในวงศ์ Rachycentridae อันดับปลากะพง (Perciformes) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุลนี้มีความยาวได้เต็มที่ถึง 2 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 68 กิโลกรัม ลำตัวมีรูปร่างยาวและกว้างในช่วงตอนกลางและแคบลงในตอนปลายหาง ส่วนหัวแบน ตามีขนาดเล็ก ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย มีฟันแบบเล็กละเอียดและเรียวขึ้นบนอยู่บนขากรรไกร, ลิ้น และเพดานปาก ลำตัวเรียบมีเกล็ดขนาดเล็ก มีสีน้ำตาลเข้มแล้วจางเป็นสีขาวบริเวณ ส่วนท้อง ด้านข้างลำตัวมีแถบสีน้ำตาลเข้มเป็นแนวยาว 2 แถบ ซึ่งจะเห็นแถบได้ชัดในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ ครีบหลังอันแรกเป็นหนามแหลมสั้น เรียงแยกกันเป็นอิสระ 6-9 อัน ซึ่งทำให้จัดอยู่ในวงศ์ต่างหากในวัยเจริญพันธุ์มีหางแบบเว้าลึก หรือแบบเสี้ยวพระจันทร์ ส่วนของครีบมีสีน้ำตาลเข้ม เป็นปลาที่ไม่มีถุงลมมีลักษณะคล้ายปลาเหาฉลาม (Echeneidae) แต่ไม่มีแผ่นเกาะด้านหลัง มีลำตัวที่แข็งแรง และมีส่วนหางที่พัฒนาดีกว่า โดยส่วนหางพัฒนาจากกลมมนเป็นเว้าลึกในตัวเต็มวัย ในปลาช่วงวัยรุ่นมีแถบสีขาวและดำชัดเจน เป็นมีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ชอบอยู่เดี่ยว ๆ ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์จะมารวมกันตามแนวหิน ซากปรักหักพัง ท่าเรือ แนวก่อสร้าง บางครั้งยังอพยพไปปากแม่น้ำและป่าชายเลนเพื่อหาสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ กินเป็นอาหาร

หอยมือเสือยักษ์

หอยมือเสือยักษ์

                      หอยมือเสือยักษ์ (อังกฤษ: Giant clam; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tridacna gigas, /ไทร-เดก-นา-ไก-เกส/) เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มหอยสองฝา (Bivalves หรือ Pelecypods) มีฝาเปลือก 2 ชิ้นประกบติดกันทางด้านล่าง ขอบด้านบนหยักเป็นคลื่น บนเปลือกเป็นแนวสันยาวโค้งจากฐานมาถึงขอบเปลือกข้างละประมาณ 45 แนว มีเกล็ดเปลือกเป็นแผ่นบางๆ ระบายเป็นชั้นๆ ขนานกันในแนวขวางโดยรอบเปลือกด้านนอก ฝาทั้งสองด้านของหอยมือเสือยักษ์ ยึดติดกันด้วยเอ็น ฝาด้านบนจะเปิดออกเพื่อรับแสงและจะแผ่ส่วนเนื้อเยื่อที่เรียกว่าแมนเทิล (Mantle) ซึ่งมีสีสันสวยงามออกมา ลวดลายบนแมนเทิลของหอยแต่ละตัวจะไม่เหมือนกัน ส่วนที่เปลือกประกบกันอยู่เป็นบานพับเปลือก ต่อจากบานพับเปลือกออกมาจะมีส่วนที่ลักษณะเป็นช่องสำหรับให้เส้นใยเนื้อ เยื่อที่เรียกว่า บิสซัส (Byssus) ทำหน้าที่เชื่อมยึดตัวหอยให้เกาะติดกับหินหรือวัสดุใต้น้ำ หอยจะมีน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม กว้าง 120 เซนติเมตร มีชีวิตยืนยาวได้ถึง 100 ปีหรือมากกว่าจัดเป็นหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ติดอยู่ในอนุสัญญาไซเตส (CITES) ในน่านน้ำไทยไม่พบตัวที่มียังมีชีวิตอยู่ แต่พบเป็นซากฟอสซิล

หมึกกล้วย

หมึกกล้วย

หมึกกล้วย (อังกฤษ: Squid) เป็นมอลลัสคาประเภทหมึกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Teuthida
หมึกกล้วย นับเป็นหมึกที่มนุษย์คุ้นเคยมากที่สุด เป็นที่รู้จักมากที่สุด หมึกกล้วยมีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวกลม มีระยางค์เหมือนครีบเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ทางด้านซ้ายและขวา มีหนวดทั้งหมด 10 หนวด และจะมีอยู่คู่หนึ่งที่ยาวกว่าหนวดอื่น ๆ ใช้สำหรับหยิบจับอาหาร เรียกว่าเป็นหนวดล่าเหยื่อ หรือหนวดจับ โดยหนวดอื่น ๆ นั้นจะใช้สำหรับช่วยเพื่อไม่ให้อาหารหลุดไป ก่อนที่จะกัดกินเข้าปากหมึกกล้วย เป็นหมึกที่มีรูปร่างเพรียวยาว ภายในลำตัวมีแคลเซียมแข็งลักษณะโปร่งใส เรียกว่า เพน (Pen) ที่มีขนาดเล็กและบางกว่าลิ้นทะเลที่เป็นแคลเซียมแข็งเช่นเดียวกันในกลุ่มหมึกกระดองหมึกกล้วย เป็นหมึกที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มักว่ายและหากินอยู่บริเวณกลางน้ำ จับสัตว์น้ำทั่วไปกินเป็นอาหาร แม้กระทั่งหมึกพวกเดียวกันเองก็ตาม การว่ายน้ำของหมึกกล้วยเป็นไปอย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว เนื่องจากมีท่อสำหรับดูดน้ำทะเลที่มีออกซิเจนเข้าไปใช้ในการหายใจ และใช้พ่นน้ำออกมาโดยใช้หลักการเดียวกับเครื่องยนต์เจ็ท ซึ่งหากหมึกกล้วยพ่นน้ำออกจากท่อนี้ด้วยความแรง ก็สามารถจะเป็นแรงผลักดันในการเคลื่อนที่ให้ลำตัวพุ่งไปในทางตรงกันข้ามได้อย่างรวดเร็ว

ปลากระโทงร่ม

ปลากระโทงร่ม


                   ปลากระโทงร่ม หรือ ปลากระโทงแทงกล้วย (อังกฤษ: Sailfish, Banana sailfish, Atlantic sailfish, Indo-Pacific sailfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Istiophorus platypterus)เป็นปลากระโทงที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง และจัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Istiophorusมีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนของสันหลังมีกล้ามเนื้อหนา หัวค่อนข้างโต ปากกว้าง จะงอยปากเรียวยาวและแหลม มีครีบกระโดงหลังสูงใหญ่เวลาแผ่กว้างจะมีลักษณะคล้ายใบเรือ ซึ่งใหญ่กว่าปลากระโทงชนิดอื่น ๆ ครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องเรียวยาวเหมือนแถบริบบิ้น ครีบก้นแยกเป็นสองอันเล็ก ๆ อันที่สองอยู่ตรงข้ามครีบหลังซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน สีของลำตัวด้านหลังเป็นสีน้ำเงินเข้มปนดำข้างตัวสีน้ำเงินอ่อนกว่าด้านหลัง ท้องสีขาวเงินมีลายเป็นเส้นประพาดจากด้านหลังลงไปถึงท้อง ครีบทุกครีบมีสีดำมีความยาวได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 100-125 กิโลกรัมกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลเปิดของมหาสมุทรต่าง ๆ ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก โดยสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเป็นปลาที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมาก ข้อต่อของกระดูกและครีบต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี มีการอพยพย้ายถิ่นไปตามกระแสน้ำ

ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ

ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ

                               ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ หรือ ปลาทูน่ายักษ์ (อังกฤษ: Northern bluefin tuna, Atlantic bluefin tuna, Giant blufin tuna; ญี่ปุ่น: タイセイヨウクロマグロ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunnus thynnus) ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae)
จัดเป็นปลาโอหรืิอปลาทูน่าชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตอบอุ่นระหว่างละติจูดที่ 5-50 องศาเหนือ สามารถอยู่อาศัยบริเวณผิวน้ำในระยะอุณหภูมิกว้างมากพบการแพร่กระจายบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออก มีลักษณะพิเศษที่เห็นได้เด่นชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่ทางตอนต้นของครีบหลังอันที่หนึ่ง ตัวค่อนข้างอ้วนสั้น หัวโต ตาโต ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน ที่คอดหางมีสีดำ มีขนาดความยาวที่สุดมากกว่า 300 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด 200 เซนติเมตร โดยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่บันทึกได้ คือ ยาว 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม มีอายุยืนยาวกว่า 30 ปี จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้

ปลาฉลามหัวค้อนหยัก

ปลาฉลามหัวค้อนหยัก


                 ปลาฉลามหัวค้อนหยัก หรือ ปลาฉลามหัวค้อนสั้น หรือ อ้ายแบ้หยัก หรือ อ้ายแบ้สั้น (อังกฤษ: Scalloped hammerhead, Squat-headed hammerhead, Kidney-headed shark, ชื่อวิทยาศาสตร์: Sphyrna lewini) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามหัวค้อน (Sphyrnidae)
รูปร่างยาวเรียวคล้ายกับปลาฉลามหัวค้อนชนิดอื่น ๆ มีลักษณะเด่น คือ ส่วนของหัวที่แผ่ออกแบนออกไปทั้งสองข้าง เป็นรูปค้อน นัยน์ตาอยู่ตรงบริเวณปลายส่วนที่แผ่ออกไปทั้ง 2 ด้าน มีรอยหยักลึกด้านหน้าสุดของหัวที่แตกต่างไปจากปลาฉลามหัวค้อนชนิดอื่น มีเยื่อหุ้มนัยน์ตา ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของลำตัว ลักษณะคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว ครีบหลังมีขนาดใหญกว่าครีบอก พื้นลำตัวสีเทา หลังสีเทาปนน้ำตาล ท้องสีขาว ขอบครีบมีรอยแต้มสีดำที่ปลาย
มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาล่าเหยื่อที่สามารถกินสัตว์น้ำได้หมดแทบทุกอย่าง มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 4.3 เมตร (14 ฟุต) น้ำหนักถึง 15 กิโลกรัม (330 ปอนด์) แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณอยู่ที่ 50-100 เซนติเมตร จัดเป็นปลาฉลามหัวค้อนที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยหากินตั้งแต่กลางน้ำจนถึงหน้าดิน มีรายงานว่าพบได้ในที่ ๆ ลึกถึง 500 เมตร ในบางครั้งอาจหากินเข้ามาถึงในแหล่ง

ปลาฉลามวาฬ

ปลาฉลามวาฬ


                         ปลาฉลามวาฬ (อังกฤษ: Whale shark) เป็นปลาฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ยาวถึง 12.65 ม. หนัก 21.5 ตัน แต่มีรายงานที่ไม่ได้รับยืนยันว่ายังมีปลาฉลามวาฬที่ใหญ่กว่านี้ เป็นปลาชนิดเดียวในสกุล Rhincodon และวงศ์ Rhincodontidae (ก่อนปี ค.ศ. 1984 ถูกเรียกว่า Rhinodontes) ซึ่งเป็นสมาชิกในชั้นย่อย Elasmobranchii ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปีปลาฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของปลาฉลามวาฬคือแพลงก์ตอน ถึงแม้ว่ารายการแพลนเน็ตเอิร์ธของบีบีซีจะถ่ายภาพยนตร์ขณะที่ปลาฉลามวาฬกำลังกินฝูงปลาขนาดเล็กไว้ได้ลักษณะของปลาฉลามวาฬที่แตกต่างจากปลาฉลามส่วนใหญ่ คือ หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่จะอยู่ด้านล่าง ฉลามวาฬ เกือบทั้งหมดที่พบมีขนาดใหญ่กว่า 3.5 เมตร ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบอก 2 อัน ครีบหาง 2 อัน และ ครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของปลาฉลามวาฬอยู่ในแนวตั้งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา แตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่นในทะเลที่หางอยู่ในแนวขนานและหายใจด้วยปอด อาทิ วาฬ, โลมา หรือพะยูน เป็นต้น

แมวน้ำ

แมวน้ำ


แมวน้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Phocidae (ไม่มีใบ) และวงศ์ Otariidae (มีใบหู)ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Arctocephalus pusillus pusillu ลักษณะทั่วไป : ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย โดยมีคอเป็นสันใหญ่ สีขนลำตัวของตัวผู้เป็นสีเทา-ดำ และมีสีน้ำตาลแซม น้ำหนักราว 247 กิโลกรัม ความยาว 2.15 เมตร ตัวเมียมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาล-เทา น้ำหนักราว 57 กิโลกรัม และมีความยาว 1.56 เมตร ถิ่นอาศัย, อาหาร : ออกจับปลาในทะเลใกล้เกาะเล็ก ๆ และขึ้นฝั่งบนเกาะบริเวณชายหาดที่เป็นโขดหินที่มีการขึ้นลงของน้ำทะเลในเขตแอฟริกาใต้ กินปลาเป็นอาหารหลักรวมทั้งปลาหมึกและหอย พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ : แมวน้ำเคปเฟอร์ซีลเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ชอบล่าเหยื่อและหากินตามผิวน้ำหรือน้ำตื้นๆ หากินปลาตามเรือของชาวประมง ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ตัวผู้จะไปยังพื้นที่ผสมพันธุ์ซึ่งเป็นชายหาดที่เป็นโขดหินและประกาศอาณาเขต อีกหลายสัปดาห์ต่อมาตัวเมียจะตามเข้ามาเพื่อออกลูกจำนวน 1 ตัว ซึ่งจะมีตัวเมียหลายตัวเข้ามาในอาณาเขต ตัวผู้ที่ครองอาณาเขตจะไล่ตัวผู้ตัวอื่นออกนอกอาณาเขตหากล้ำเข้ามา จนกว่ามันจะได้ผสมพันธุ์กับตัวเมียทุกตัว ตัวเมียจะเป็นสัดหลังการออกลูก 5 - 6 วัน และมีระยะการตั้งท้องนานประมาณ 1 ปี

ปลาไหลมอเรย์

ปลาไหลมอเรย์


                             ปลาไหลมอเรย์ หรือ ปลาหลดหิน (อังกฤษ: Moray eel, Moray) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muraenidae อยู่ในอันดับปลาไหล (Anguilliformes)
มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลทั่วไป ไม่มีครีบอก ครีบหลังเชื่อมต่อกับครีบก้นและครีบหาง โดยมีจุดเด่นร่วมกันคือ มีส่วนปากที่แหลม ไม่มีเกล็ดแต่มีหนังขนาดหนาและเมือกลื่นแทน เหงือกของปลาไหลมอเรย์ยังลดรูป เป็นเพียงรูเล็ก ๆ อยู่ข้างครีบอกที่ลดรูปเหมือนกัน เลยต้องอ้าปากช่วยหายใจเกือบตลอดเวลา คล้ายกับการที่อ้าปากขู่ นอกจากนี้แล้วภายในกรามยังมีกรามขนาดเล็กซ้อนกันอยู่ข้างใน ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงคอหอย แต่จะออกมาซ้อนกับกรามใหญ่เมื่อเวลาอ้าปาก ใช้สำหรับจับและขบกัดกินอาหารไม่ให้หลุด
ปลาไหลมอเรย์เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยการล่าเหยื่อด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางกลิ่น ที่เป็นแท่งเล็ก ๆ ยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง คล้ายจมูก ซึ่งอวัยวะส่วนนี้มีความไวต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะกลิ่นคาวแบบต่าง ๆ เช่น กลิ่นเลือดหรือกลิ่นของสัตว์ที่บาดเจ็บมีบาดแผล อาหารได้แก่ ปลาทั่วไป รวมถึงสัตว์ที่มีกระดองแข็งเช่น กุ้ง, กั้ง, ปู รวมถึงหมึกด้วย
โดยปกติแล้วปลาไหลมอเรย์จะอาศัยอยู่ตามโพรงหินหรือซอกปะการังในแนวปะการัง โดยยื่นแต่เฉพาะส่วนหัวโผล่ออกมาราว 1/4 ของความยาวลำตัว พร้อมกับอ้าปากส่ายหัว เพื่อป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัยและหาเหยื่อ ที่จะออกมาว่ายน้ำนั้นจะเป็นช่วงเวลากลางคืนที่หาอาหาร

วาฬเพชฌฆาต

วาฬเพชฌฆาต


                    วาฬเพชฌฆาต หรือ วาฬออร์กา (อังกฤษ: Killer whale, Orca) เป็นสปีชี่ส์ที่ใหญ่ที่สุดในในวงศ์ Delphinidae ของโลมา สามารถพบเห็นได้ในมหาสมุทรทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกและแอนตาร์กติก จนถึงทะเลในแถบเขตร้อนวาฬเพชฌฆาตเป็นนักล่าที่ชาญฉลาด ส่วนมากล่าปลาเป็นอาหาร ในบางสายพันธุ์จะล่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างแมวน้ำ, สิงโตทะเล หรือแม้กระทั่งวาฬขนาดใหญ่ วาฬเพชฌฆาตเป็นสัตว์สังคม โดยสัณนิษฐานได้จากพฤติกรรมทางสังคมที่ซับซ้อนของมัน อย่างเช่น เทคนิคการล่า การส่งเสียงที่สามารถสื่อความหมายระหว่างกันได้วาฬเพชฌฆาต เป็นสปีชี่ส์เดียวในสกุล Orcinus ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสัตว์หลายชนิดที่ได้รับการบรรยายระบุจำแนกโดย คาโรลัส ลินเนียส ในผลงานที่ชื่อ "Systema Naturae" ในปี 1758 (ศตวรรษที่ 18) คอนราด แกซส์เนอร์ (Konrad Gessner) เป็นผู้แรกที่เขียนบรรยายลักษณะของวาฬเพชฌฆาตตามหลักวิทยาศาสตร์ใน "Fish book" งานของเขาในปี ค.ศ. 1558 บนพื้นฐานของซากวาฬเกยฝั่งที่ดึงดูดความสนใจของคนท้องถิ่นจำนวนมากในอ่าวไกรฟซ์วัลด์ (Bay of Greifswald)
วาฬเพชฌฆาตเป็น 1 ใน 35 สปีชี่ส์ของวงศ์โลมามหาสมุทรซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกประมาณ 11 ล้านปีมาแล้ว เชื้อสายวาฬเพชฌฆาตอาจแตกแยกออกมาภายหลังจากนั้นไม่นานแม้ว่าทางสัณฐานวิทยาวาฬเพชฌฆาตมีลักษณะคล้ายคลึงกับวาฬเพชฌฆาตเล็ก, วาฬเพชฆาตดำ และวาฬนำร่อง แต่จากการศึกษาอันดับยีนไซโทโครม บีโดยริชาร์ด รีดัก (Richard LeDuc) แสดงว่ามันเป็นญาติใกล้ชิดกับสกุลโลมาหัวบาตร Orcaella

ปลาฉลามขาว

ปลาฉลามขาว


                 ปลาฉลามขาว (อังกฤษ: Great white shark) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง มีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ พบได้ตามเขตชายฝั่งแถบทะเลใหญ่ มีความยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักประมาณ 2250 กิโลกรัม ทำให้ปลาฉลามขาวเป็นปลานักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์เดียวในสกุล Carcharodon ที่ยังเหลืออยู่ปลาฉลามขาวมีความสามารถคล้ายกับปลาฉลามสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีอวัยวะรับสัมผัสพิเศษ ที่สามารถตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากปลาที่มีชีวิต ที่เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ ทุกครั้งที่สิ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวอยู่ใต้ผิวน้ำ จะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา และปลาฉลามขาวมีสัมผัสไวเป็นพิเศษ ที่สามารถตรวจจับได้แม้มีความแรงเพียง 1/1000,000,000 โวลท์ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับสามารถตรวจจับแสงแฟลชได้ในระยะ 1600 กิโลเมตร ปลาชนิดอื่นๆ ส่วนมากไม่มีพัฒนาการถึงระดับนี้ แต่มีความสามารถที่คล้ายๆ กันนี้ ที่ลายด้านข้างลำตัว
การที่ปลาฉลามขาวจะประสบความสำเร็จในการล่าเหยื่อ ที่มีความว่องไวสูงอย่างสิงโตทะเล สัตว์เลือดเย็น อย่างปลาฉลามขาวได้พัฒนา ระบบรักษาความร้อนภายในร่างกาย ให้สามารถรักษาอุณหภูมิให้สูงกว่าอุณหภูมิของน้ำภายนอกได้ โดยใช้ Rete mirabile ซึ่งเส้นใยเส้นเลือด ที่มีอยู่รอบตัวของปลาฉลามขาวนี้ จะรักษาความร้อนของเลือดแดงที่เย็นตัวลง ด้วยเลือดดำที่อุ่นกว่าจากการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อ ความสามารถนี้ทำให้ปลาฉลามขาวรักษาระดับอุณหภูมิในตัว สูงกว่าอุณหภูมิน้ำทะเลรอบตัวประมาณ 14ํC (เมื่อล่าในเขตหนาวจัด) โดยที่หัวใจและเหงือกยังคงอยู่ที่อุณหภูมิของระดับน้ำทะเล