วาฬสีน้ำเงิน
วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วาฬสีน้ำเงิน
ปลาหมอทะเล
ปลาหมอทะเล
แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส
แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส
ปลาดุกทะเลลาย
ปลาดุกทะเลลาย
ปลาดุกทะเลลาย หรือ
ปลาดุกทะเลแถบ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาดุกทะเล (อังกฤษ: Striped eel catfish) เป็นปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plotosus lineatus (มาจากภาษากรีก Plotos
หมายถึง
"ว่ายน้ำ" และ lineatus หมายถึง
"ลายแถบ") อยู่ในวงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae)มีรูปร่างเรียวยาวด้านข้างแบน
ส่วนหัวแบนลงมีหนวด คู่ครีบหลังและครีบหูมีก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง
มีลักษณะเป็นฟันเลื่อย ไม่มีครีบไขมัน ส่วนหัวแบนยาวเรียวแหลมครีบหลังอันที่สอง
ครีบก้นและครีบหางติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจอยู่ที่รูก้น
ด้านหลังลำตัวมีสำดำปนน้ำตาล ด้านท้องมีสีขาว ปลาขนาดเล็กจะมีลายแถบสีขาวปนเหลือง
3 แถบพาดไปตามยาวลำตัว
เมื่อโตขึ้นแถบเหล่านี้จะเลือนหายไปกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนแทนโดยที่ปลาดุกทะเลชนิดนี้
ตามเงี่ยงแข็งในแต่ละครีบนั้นมีพิษร้ายแรงมาก
ถึงขนาดมีรายงานแทงมนุษย์จนถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้วมีความยาวเต็มที่ประมาณ 60
เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบทั่วไปคือ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่ทะเลแดง, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และพบในทะเลสาบน้ำจืดของทวีปแอฟริกา เช่น ทะเลสาบมาลาวี
และมาดากัสการ์ด้วย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
รวมถึงในปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปลาวัยอ่อนจะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในทะเลใกล้ชายฝั่ง
ในแนวปะการังหรือตามกอสาหร่าย เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน
โดยมักจะขุดรูอยู่ในดินหรือเลนใกล้ชายฝั่ง
ปลาช่อนทะเล
ปลาช่อนทะเล
หอยมือเสือยักษ์
หอยมือเสือยักษ์
หมึกกล้วย
หมึกกล้วย
หมึกกล้วย (อังกฤษ: Squid) เป็นมอลลัสคาประเภทหมึกอันดับหนึ่ง
ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Teuthida
หมึกกล้วย นับเป็นหมึกที่มนุษย์คุ้นเคยมากที่สุด
เป็นที่รู้จักมากที่สุด หมึกกล้วยมีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวกลม
มีระยางค์เหมือนครีบเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ทางด้านซ้ายและขวา มีหนวดทั้งหมด 10 หนวด
และจะมีอยู่คู่หนึ่งที่ยาวกว่าหนวดอื่น ๆ ใช้สำหรับหยิบจับอาหาร
เรียกว่าเป็นหนวดล่าเหยื่อ หรือหนวดจับ โดยหนวดอื่น ๆ
นั้นจะใช้สำหรับช่วยเพื่อไม่ให้อาหารหลุดไป ก่อนที่จะกัดกินเข้าปากหมึกกล้วย
เป็นหมึกที่มีรูปร่างเพรียวยาว ภายในลำตัวมีแคลเซียมแข็งลักษณะโปร่งใส เรียกว่า
เพน (Pen) ที่มีขนาดเล็กและบางกว่าลิ้นทะเลที่เป็นแคลเซียมแข็งเช่นเดียวกันในกลุ่มหมึกกระดองหมึกกล้วย
เป็นหมึกที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มักว่ายและหากินอยู่บริเวณกลางน้ำ
จับสัตว์น้ำทั่วไปกินเป็นอาหาร แม้กระทั่งหมึกพวกเดียวกันเองก็ตาม
การว่ายน้ำของหมึกกล้วยเป็นไปอย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว
เนื่องจากมีท่อสำหรับดูดน้ำทะเลที่มีออกซิเจนเข้าไปใช้ในการหายใจ
และใช้พ่นน้ำออกมาโดยใช้หลักการเดียวกับเครื่องยนต์เจ็ท
ซึ่งหากหมึกกล้วยพ่นน้ำออกจากท่อนี้ด้วยความแรง
ก็สามารถจะเป็นแรงผลักดันในการเคลื่อนที่ให้ลำตัวพุ่งไปในทางตรงกันข้ามได้อย่างรวดเร็ว
ปลากระโทงร่ม
ปลากระโทงร่ม
ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ
ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ
ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ
หรือ ปลาทูน่ายักษ์ (อังกฤษ: Northern
bluefin tuna, Atlantic bluefin tuna, Giant blufin tuna; ญี่ปุ่น: タイセイヨウクロマグロ; ชื่อวิทยาศาสตร์:
Thunnus thynnus) ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง
ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae)
จัดเป็นปลาโอหรืิอปลาทูน่าชนิดหนึ่ง
พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตอบอุ่นระหว่างละติจูดที่ 5-50 องศาเหนือ สามารถอยู่อาศัยบริเวณผิวน้ำในระยะอุณหภูมิกว้างมากพบการแพร่กระจายบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออก
มีลักษณะพิเศษที่เห็นได้เด่นชัดคือ
ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่ทางตอนต้นของครีบหลังอันที่หนึ่ง
ตัวค่อนข้างอ้วนสั้น หัวโต ตาโต ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน
ที่คอดหางมีสีดำ มีขนาดความยาวที่สุดมากกว่า 300 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด
200 เซนติเมตร โดยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่บันทึกได้ คือ ยาว 458 เซนติเมตร
และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม มีอายุยืนยาวกว่า 30 ปี จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้
ปลาฉลามหัวค้อนหยัก
ปลาฉลามหัวค้อนหยัก
ปลาฉลามหัวค้อนหยัก หรือ
ปลาฉลามหัวค้อนสั้น หรือ อ้ายแบ้หยัก หรือ อ้ายแบ้สั้น (อังกฤษ: Scalloped hammerhead, Squat-headed hammerhead, Kidney-headed shark,
ชื่อวิทยาศาสตร์:
Sphyrna lewini) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามหัวค้อน
(Sphyrnidae)
รูปร่างยาวเรียวคล้ายกับปลาฉลามหัวค้อนชนิดอื่น
ๆ มีลักษณะเด่น คือ ส่วนของหัวที่แผ่ออกแบนออกไปทั้งสองข้าง เป็นรูปค้อน
นัยน์ตาอยู่ตรงบริเวณปลายส่วนที่แผ่ออกไปทั้ง 2 ด้าน
มีรอยหยักลึกด้านหน้าสุดของหัวที่แตกต่างไปจากปลาฉลามหัวค้อนชนิดอื่น
มีเยื่อหุ้มนัยน์ตา ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของลำตัว
ลักษณะคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว ครีบหลังมีขนาดใหญกว่าครีบอก พื้นลำตัวสีเทา
หลังสีเทาปนน้ำตาล ท้องสีขาว ขอบครีบมีรอยแต้มสีดำที่ปลาย
มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง
เป็นปลาล่าเหยื่อที่สามารถกินสัตว์น้ำได้หมดแทบทุกอย่าง มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 4.3
เมตร (14 ฟุต) น้ำหนักถึง 15 กิโลกรัม (330 ปอนด์) แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณอยู่ที่
50-100 เซนติเมตร จัดเป็นปลาฉลามหัวค้อนที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยหากินตั้งแต่กลางน้ำจนถึงหน้าดิน
มีรายงานว่าพบได้ในที่ ๆ ลึกถึง 500 เมตร ในบางครั้งอาจหากินเข้ามาถึงในแหล่ง
ปลาฉลามวาฬ
ปลาฉลามวาฬ
แมวน้ำ
แมวน้ำ
ปลาไหลมอเรย์
ปลาไหลมอเรย์
ปลาไหลมอเรย์ หรือ
ปลาหลดหิน (อังกฤษ: Moray eel, Moray) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง
ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muraenidae อยู่ในอันดับปลาไหล
(Anguilliformes)
มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลทั่วไป
ไม่มีครีบอก ครีบหลังเชื่อมต่อกับครีบก้นและครีบหาง โดยมีจุดเด่นร่วมกันคือ มีส่วนปากที่แหลม
ไม่มีเกล็ดแต่มีหนังขนาดหนาและเมือกลื่นแทน เหงือกของปลาไหลมอเรย์ยังลดรูป
เป็นเพียงรูเล็ก ๆ อยู่ข้างครีบอกที่ลดรูปเหมือนกัน
เลยต้องอ้าปากช่วยหายใจเกือบตลอดเวลา คล้ายกับการที่อ้าปากขู่
นอกจากนี้แล้วภายในกรามยังมีกรามขนาดเล็กซ้อนกันอยู่ข้างใน ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงคอหอย
แต่จะออกมาซ้อนกับกรามใหญ่เมื่อเวลาอ้าปาก ใช้สำหรับจับและขบกัดกินอาหารไม่ให้หลุด
ปลาไหลมอเรย์เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร
ออกหากินในเวลากลางคืน โดยการล่าเหยื่อด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางกลิ่น
ที่เป็นแท่งเล็ก ๆ ยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง คล้ายจมูก
ซึ่งอวัยวะส่วนนี้มีความไวต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะกลิ่นคาวแบบต่าง ๆ เช่น
กลิ่นเลือดหรือกลิ่นของสัตว์ที่บาดเจ็บมีบาดแผล อาหารได้แก่ ปลาทั่วไป
รวมถึงสัตว์ที่มีกระดองแข็งเช่น กุ้ง, กั้ง, ปู รวมถึงหมึกด้วย
โดยปกติแล้วปลาไหลมอเรย์จะอาศัยอยู่ตามโพรงหินหรือซอกปะการังในแนวปะการัง
โดยยื่นแต่เฉพาะส่วนหัวโผล่ออกมาราว 1/4 ของความยาวลำตัว พร้อมกับอ้าปากส่ายหัว
เพื่อป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัยและหาเหยื่อ
ที่จะออกมาว่ายน้ำนั้นจะเป็นช่วงเวลากลางคืนที่หาอาหาร
วาฬเพชฌฆาต
วาฬเพชฌฆาต
วาฬเพชฌฆาต หรือ วาฬออร์กา
(อังกฤษ: Killer whale, Orca) เป็นสปีชี่ส์ที่ใหญ่ที่สุดในในวงศ์
Delphinidae ของโลมา สามารถพบเห็นได้ในมหาสมุทรทั่วโลก
ตั้งแต่แถบอาร์กติกและแอนตาร์กติก
จนถึงทะเลในแถบเขตร้อนวาฬเพชฌฆาตเป็นนักล่าที่ชาญฉลาด ส่วนมากล่าปลาเป็นอาหาร
ในบางสายพันธุ์จะล่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างแมวน้ำ, สิงโตทะเล หรือแม้กระทั่งวาฬขนาดใหญ่ วาฬเพชฌฆาตเป็นสัตว์สังคม
โดยสัณนิษฐานได้จากพฤติกรรมทางสังคมที่ซับซ้อนของมัน อย่างเช่น เทคนิคการล่า
การส่งเสียงที่สามารถสื่อความหมายระหว่างกันได้วาฬเพชฌฆาต เป็นสปีชี่ส์เดียวในสกุล
Orcinus ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
เป็นหนึ่งในสัตว์หลายชนิดที่ได้รับการบรรยายระบุจำแนกโดย คาโรลัส ลินเนียส
ในผลงานที่ชื่อ "Systema Naturae" ในปี 1758
(ศตวรรษที่ 18) คอนราด แกซส์เนอร์ (Konrad Gessner)
เป็นผู้แรกที่เขียนบรรยายลักษณะของวาฬเพชฌฆาตตามหลักวิทยาศาสตร์ใน
"Fish book" งานของเขาในปี ค.ศ. 1558 บนพื้นฐานของซากวาฬเกยฝั่งที่ดึงดูดความสนใจของคนท้องถิ่นจำนวนมากในอ่าวไกรฟซ์วัลด์
(Bay of Greifswald)
วาฬเพชฌฆาตเป็น 1 ใน 35
สปีชี่ส์ของวงศ์โลมามหาสมุทรซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกประมาณ 11 ล้านปีมาแล้ว
เชื้อสายวาฬเพชฌฆาตอาจแตกแยกออกมาภายหลังจากนั้นไม่นานแม้ว่าทางสัณฐานวิทยาวาฬเพชฌฆาตมีลักษณะคล้ายคลึงกับวาฬเพชฌฆาตเล็ก, วาฬเพชฆาตดำ และวาฬนำร่อง
แต่จากการศึกษาอันดับยีนไซโทโครม บีโดยริชาร์ด รีดัก (Richard
LeDuc) แสดงว่ามันเป็นญาติใกล้ชิดกับสกุลโลมาหัวบาตร
Orcaella
ปลาฉลามขาว
ปลาฉลามขาว
ปลาฉลามขาว (อังกฤษ: Great white shark) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง
มีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ พบได้ตามเขตชายฝั่งแถบทะเลใหญ่ มีความยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักประมาณ 2250 กิโลกรัม
ทำให้ปลาฉลามขาวเป็นปลานักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
เป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์เดียวในสกุล Carcharodon ที่ยังเหลืออยู่ปลาฉลามขาวมีความสามารถคล้ายกับปลาฉลามสายพันธุ์อื่นๆ
ที่มีอวัยวะรับสัมผัสพิเศษ ที่สามารถตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่แผ่ออกมาจากปลาที่มีชีวิต ที่เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ
ทุกครั้งที่สิ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวอยู่ใต้ผิวน้ำ จะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา
และปลาฉลามขาวมีสัมผัสไวเป็นพิเศษ ที่สามารถตรวจจับได้แม้มีความแรงเพียง
1/1000,000,000 โวลท์ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับสามารถตรวจจับแสงแฟลชได้ในระยะ 1600 กิโลเมตร
ปลาชนิดอื่นๆ ส่วนมากไม่มีพัฒนาการถึงระดับนี้ แต่มีความสามารถที่คล้ายๆ กันนี้
ที่ลายด้านข้างลำตัว
การที่ปลาฉลามขาวจะประสบความสำเร็จในการล่าเหยื่อ
ที่มีความว่องไวสูงอย่างสิงโตทะเล สัตว์เลือดเย็น อย่างปลาฉลามขาวได้พัฒนา
ระบบรักษาความร้อนภายในร่างกาย ให้สามารถรักษาอุณหภูมิให้สูงกว่าอุณหภูมิของน้ำภายนอกได้
โดยใช้ Rete mirabile ซึ่งเส้นใยเส้นเลือด
ที่มีอยู่รอบตัวของปลาฉลามขาวนี้ จะรักษาความร้อนของเลือดแดงที่เย็นตัวลง
ด้วยเลือดดำที่อุ่นกว่าจากการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อ
ความสามารถนี้ทำให้ปลาฉลามขาวรักษาระดับอุณหภูมิในตัว
สูงกว่าอุณหภูมิน้ำทะเลรอบตัวประมาณ 14ํC (เมื่อล่าในเขตหนาวจัด)
โดยที่หัวใจและเหงือกยังคงอยู่ที่อุณหภูมิของระดับน้ำทะเล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)