วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วาฬสีน้ำเงิน

วาฬสีน้ำเงิน


วาฬสีน้ำเงิน (อังกฤษ: Blue whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera musculus) เป็นวาฬบาลีน (Balaenopteridae) และถือเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยทั่วไปจะยาวประมาณ 27-29 เมตร แต่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบคือ 33 เมตร (เท่ากับอาคาร 8 ชั้น) น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ ประมาณ 100-200 ตัน เฉพาะลิ้นก็มีน้ำหนักเทียบเท่ากับช้างหนึ่งตัว และหัวใจก็มีขนาดเท่ารถยนต์คันหนึ่ง อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, แอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงในมหาสมุทรแอนตาร์กติกาด้วยลูกวาฬจะกินเฉพาะนมแม่ที่มีไขมันสูงถึงร้อยละ 40 มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 4 กิโลกรัมกินเคยและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่ก็อาจจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่น ปลาขนาดเล็กเข้าไปด้วย สามารถดำน้ำลงไปหาอาหารได้ลึกถึง 100 เมตร และปกติจะดำน้ำนาน 20 นาที แต่มีบันทึกสูงสุดว่าดำได้นานถึง 36 นาที และพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร ทั้งนี้ วาฬสีน้ำเงินที่โตเต็มวัยกินเคยวันหนึ่งได้มากถึง 4 ตันวาฬสีน้ำเงินถูกล่าอย่างหนักเพื่อต้องการไขมันและน้ำมัน โดยเฉพาะในช่วง 60 ปีแรกของศตวรรษที่ 20 คาดว่ามีวาฬสีน้ำเงินราว 360,000 ตัวถูกฆ่าตาย ประชากรวาฬรอบเกาะเซาท์จอร์เจียในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ถูกฆ่าแบบล้างบาง รวมทั้งพวกที่เคยหากินอยู่นอกชายฝั่งญี่ปุ่นด้วย ประชากรวาฬสีน้ำเงินบางกลุ่มลดจำนวนลงถึงร้อยละ 99 จนเข้าสู่สภาพของการเป็นสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ กระทั่งถึงช่วงกลางทศวรรษ 1960 จึงได้มีการอนุรักษ์ขึ้นมาอย่างจริงจัง นอกจากนี้แล้ว วาฬสีน้ำเงินยังเป็นสัตว์ที่ส่งเสียงร้องได้กว้างไกลที่สุดในโลกอีกด้วย โดยสามารถส่งได้ได้ดังถึง 1,600 กิโลเมตร ในลักษณะของคลื่นเสียงที่มีความหลากหลาย ซึ่งเชื่อกันว่าไม่ได้เป็นไปในการสื่อสารเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังใช้การนำทางอีกด้วย

ปลาหมอทะเล

ปลาหมอทะเล


                  ปลาหมอทะเล (อังกฤษ: Giant grouper, Queensland grouper) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelus lanceolatus ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังเล็กอยู่ ตามลำตัวมีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่าง ๆปลาหมอทะเลเป็นปลาในวงศ์ปลากะรังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร น้ำหนักหนักถึง 400 กิโลกรัม ถือเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมกินอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว อาจจะกินปลาฉลามขนาดเล็กหรือเต่าทะเลวัยอ่อนได้ ฟันในปากมีขนาดเล็ก เป็นปลาที่สายตาไม่ดี ออกหากินในเวลากลางคืน แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย เวลาขู่จะแสดงออกด้วยการพองครีบพองเหงือกคล้ายปลากัด ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ หรือกองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ พบในระดับความลึกตั้งแต่ 4-100 เมตร

แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส

แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส


               แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส หรือ แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส (อังกฤษ: Portuguese man-of-war, Portuguese Man o' War, Bluebottle) เป็นแมงกะพรุนชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Physalia physalisที่ได้ชื่อเช่นนี้ เนื่องจากรูปร่างคล้ายหมวกของทหารเรือชาวโปรตุเกสในยุคกลาง[1] หรือเรือรบของโปรตุเกสในยุคล่าอาณานิคมที่เรียกว่า "Man-of-war"มีรูปร่างสีฟ้าหรือสีม่วง มีหนวดยาว จัดอยู่ในวงศ์ Physaliidae และสกุล Physalia ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดเท่านั้น โดยปกติจะไม่พบในน่านน้ำไทย โดยจะพบในทะเลเปิดของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ, ทะเลเมดิเตอเรเนียน, มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย แต่จะอาจจะถูกกระแสน้ำพัดมาเกยตื้นหรือเข้าสู่น่านน้ำไทยได้ในบางฤดูกาลจัดเป็นแมงกะพรุนชนิดที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก เทียบเท่าแมงกะพรุนกล่องหรือแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) และเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลกด้วย ซึ่งพิษนั้นจะทำลายระบบประสาท ผิวหนัง หัวใจ เมื่อถูกต่อยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างมาก ส่วนใหญ่ผู้ที่โดนพิษจะช็อค และหัวใจล้มเหลวก่อนที่จะกลับเข้าถึงฝั่ง วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือ การใช้น้ำอุ่นมาล้างบริเวณที่ถูกพิษอย่างน้อย 30 วินาที ก่อนที่พิษจะเข้าสู่กระแสเลือด

ปลาดุกทะเลลาย

ปลาดุกทะเลลาย



                    ปลาดุกทะเลลาย หรือ ปลาดุกทะเลแถบ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาดุกทะเล (อังกฤษ: Striped eel catfish) เป็นปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plotosus lineatus (มาจากภาษากรีก Plotos หมายถึง "ว่ายน้ำ" และ lineatus หมายถึง "ลายแถบ") อยู่ในวงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae)มีรูปร่างเรียวยาวด้านข้างแบน ส่วนหัวแบนลงมีหนวด คู่ครีบหลังและครีบหูมีก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง มีลักษณะเป็นฟันเลื่อย ไม่มีครีบไขมัน ส่วนหัวแบนยาวเรียวแหลมครีบหลังอันที่สอง ครีบก้นและครีบหางติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจอยู่ที่รูก้น ด้านหลังลำตัวมีสำดำปนน้ำตาล ด้านท้องมีสีขาว ปลาขนาดเล็กจะมีลายแถบสีขาวปนเหลือง 3 แถบพาดไปตามยาวลำตัว เมื่อโตขึ้นแถบเหล่านี้จะเลือนหายไปกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนแทนโดยที่ปลาดุกทะเลชนิดนี้ ตามเงี่ยงแข็งในแต่ละครีบนั้นมีพิษร้ายแรงมาก ถึงขนาดมีรายงานแทงมนุษย์จนถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้วมีความยาวเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบทั่วไปคือ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่ทะเลแดง, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และพบในทะเลสาบน้ำจืดของทวีปแอฟริกา เช่น ทะเลสาบมาลาวี และมาดากัสการ์ด้วย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงในปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปลาวัยอ่อนจะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในทะเลใกล้ชายฝั่ง ในแนวปะการังหรือตามกอสาหร่าย เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน
โดยมักจะขุดรูอยู่ในดินหรือเลนใกล้ชายฝั่ง

ปลาช่อนทะเล

ปลาช่อนทะเล

            ปลาช่อนทะเล (อังกฤษ: Cobia, Black kingfish, Black salmon, Ling, Lemon fish, Crabeater, Aruan tasek) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rachycentron canadum อยู่ในวงศ์ Rachycentridae อันดับปลากะพง (Perciformes) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุลนี้มีความยาวได้เต็มที่ถึง 2 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 68 กิโลกรัม ลำตัวมีรูปร่างยาวและกว้างในช่วงตอนกลางและแคบลงในตอนปลายหาง ส่วนหัวแบน ตามีขนาดเล็ก ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย มีฟันแบบเล็กละเอียดและเรียวขึ้นบนอยู่บนขากรรไกร, ลิ้น และเพดานปาก ลำตัวเรียบมีเกล็ดขนาดเล็ก มีสีน้ำตาลเข้มแล้วจางเป็นสีขาวบริเวณ ส่วนท้อง ด้านข้างลำตัวมีแถบสีน้ำตาลเข้มเป็นแนวยาว 2 แถบ ซึ่งจะเห็นแถบได้ชัดในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ ครีบหลังอันแรกเป็นหนามแหลมสั้น เรียงแยกกันเป็นอิสระ 6-9 อัน ซึ่งทำให้จัดอยู่ในวงศ์ต่างหากในวัยเจริญพันธุ์มีหางแบบเว้าลึก หรือแบบเสี้ยวพระจันทร์ ส่วนของครีบมีสีน้ำตาลเข้ม เป็นปลาที่ไม่มีถุงลมมีลักษณะคล้ายปลาเหาฉลาม (Echeneidae) แต่ไม่มีแผ่นเกาะด้านหลัง มีลำตัวที่แข็งแรง และมีส่วนหางที่พัฒนาดีกว่า โดยส่วนหางพัฒนาจากกลมมนเป็นเว้าลึกในตัวเต็มวัย ในปลาช่วงวัยรุ่นมีแถบสีขาวและดำชัดเจน เป็นมีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ชอบอยู่เดี่ยว ๆ ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์จะมารวมกันตามแนวหิน ซากปรักหักพัง ท่าเรือ แนวก่อสร้าง บางครั้งยังอพยพไปปากแม่น้ำและป่าชายเลนเพื่อหาสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ กินเป็นอาหาร

หอยมือเสือยักษ์

หอยมือเสือยักษ์

                      หอยมือเสือยักษ์ (อังกฤษ: Giant clam; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tridacna gigas, /ไทร-เดก-นา-ไก-เกส/) เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มหอยสองฝา (Bivalves หรือ Pelecypods) มีฝาเปลือก 2 ชิ้นประกบติดกันทางด้านล่าง ขอบด้านบนหยักเป็นคลื่น บนเปลือกเป็นแนวสันยาวโค้งจากฐานมาถึงขอบเปลือกข้างละประมาณ 45 แนว มีเกล็ดเปลือกเป็นแผ่นบางๆ ระบายเป็นชั้นๆ ขนานกันในแนวขวางโดยรอบเปลือกด้านนอก ฝาทั้งสองด้านของหอยมือเสือยักษ์ ยึดติดกันด้วยเอ็น ฝาด้านบนจะเปิดออกเพื่อรับแสงและจะแผ่ส่วนเนื้อเยื่อที่เรียกว่าแมนเทิล (Mantle) ซึ่งมีสีสันสวยงามออกมา ลวดลายบนแมนเทิลของหอยแต่ละตัวจะไม่เหมือนกัน ส่วนที่เปลือกประกบกันอยู่เป็นบานพับเปลือก ต่อจากบานพับเปลือกออกมาจะมีส่วนที่ลักษณะเป็นช่องสำหรับให้เส้นใยเนื้อ เยื่อที่เรียกว่า บิสซัส (Byssus) ทำหน้าที่เชื่อมยึดตัวหอยให้เกาะติดกับหินหรือวัสดุใต้น้ำ หอยจะมีน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม กว้าง 120 เซนติเมตร มีชีวิตยืนยาวได้ถึง 100 ปีหรือมากกว่าจัดเป็นหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ติดอยู่ในอนุสัญญาไซเตส (CITES) ในน่านน้ำไทยไม่พบตัวที่มียังมีชีวิตอยู่ แต่พบเป็นซากฟอสซิล

หมึกกล้วย

หมึกกล้วย

หมึกกล้วย (อังกฤษ: Squid) เป็นมอลลัสคาประเภทหมึกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Teuthida
หมึกกล้วย นับเป็นหมึกที่มนุษย์คุ้นเคยมากที่สุด เป็นที่รู้จักมากที่สุด หมึกกล้วยมีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวกลม มีระยางค์เหมือนครีบเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ทางด้านซ้ายและขวา มีหนวดทั้งหมด 10 หนวด และจะมีอยู่คู่หนึ่งที่ยาวกว่าหนวดอื่น ๆ ใช้สำหรับหยิบจับอาหาร เรียกว่าเป็นหนวดล่าเหยื่อ หรือหนวดจับ โดยหนวดอื่น ๆ นั้นจะใช้สำหรับช่วยเพื่อไม่ให้อาหารหลุดไป ก่อนที่จะกัดกินเข้าปากหมึกกล้วย เป็นหมึกที่มีรูปร่างเพรียวยาว ภายในลำตัวมีแคลเซียมแข็งลักษณะโปร่งใส เรียกว่า เพน (Pen) ที่มีขนาดเล็กและบางกว่าลิ้นทะเลที่เป็นแคลเซียมแข็งเช่นเดียวกันในกลุ่มหมึกกระดองหมึกกล้วย เป็นหมึกที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มักว่ายและหากินอยู่บริเวณกลางน้ำ จับสัตว์น้ำทั่วไปกินเป็นอาหาร แม้กระทั่งหมึกพวกเดียวกันเองก็ตาม การว่ายน้ำของหมึกกล้วยเป็นไปอย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว เนื่องจากมีท่อสำหรับดูดน้ำทะเลที่มีออกซิเจนเข้าไปใช้ในการหายใจ และใช้พ่นน้ำออกมาโดยใช้หลักการเดียวกับเครื่องยนต์เจ็ท ซึ่งหากหมึกกล้วยพ่นน้ำออกจากท่อนี้ด้วยความแรง ก็สามารถจะเป็นแรงผลักดันในการเคลื่อนที่ให้ลำตัวพุ่งไปในทางตรงกันข้ามได้อย่างรวดเร็ว